รู้จักแผลกดทับและวิธีป้องกัน

Last updated: 8 ก.พ. 2565  |  2388 จำนวนผู้เข้าชม  | 

รู้จักแผลกดทับและวิธีป้องกัน

แผลกดทับเป็นแผลที่ส่งผลกับการใช้ชีวิตโดยตรง เป็นแล้วรักษาหายยาก ผู้ป่วยแผลกดทับจะเจ็บปวดจากบาดแผลเป็นอย่างมาก แผลลักษณะนี้มักพบในผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว รวมทั้งผู้สูงอายุที่มีชั่วโมงการนอนหรือนั่งมากขึ้น หากไม่รีบรักษานอกจากรุนแรงจนต้องพักฟื้นในโรงพยาบาล อาจเกิดการติดเชื้อจากแผลกดทับอาจอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

แผลกดทับเกิดได้อย่างไร?

แผลกดทับ ความหมายตรงตัวคือเป็นแผลที่เกิดจากการถูกกดทับลงไปที่เดิมเป็นเวลานาน เช่น การนอนหรือนั่งท่าเดิมเกิน 1-2 ชั่วโมง ประกอบกับปัจจัยอื่นร่วมด้วย จนทำให้ปุ่มกระดูกกดที่ผิวหนังจนผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังบริเวณนั้นถูกทำลายกลายเป็นนื้อตายและเป็นแผล ผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย ส่วนใหญ่แผลกดทับจะเกิดตรงบริเวณปุ่มกระดูกต่าง ๆ เช่น ส้นเท้า ตาตุ่ม ก้นกบ ด้านข้างสะโพก หัวไหล่ เป็นต้น

(ตำแหน่งที่มักเกิดแผลกดทับ)

ปัจจัยเสี่ยงเกิดแผลกดทับ
ส่วนใหญ่พบในผู้ที่ขาดการเคลื่อนไหว เช่น ผู้ป่วยนอนติดเตียง เคลื่อนไหวไม่ค่อยดี และคนที่ไม่ได้ป่วยติดเตียงก็สามารถเป็นได้ เช่น คนผอม ผิวหนังบาง ขาดน้ำ ขาดอาหาร โรคเบาหวาน ผิวแห้ง โรคเกี่ยวกับเส้นเลือด ผู้ที่ควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ-อุจจาระไม่ได้ต้องใส่ผ้าอ้อม เป็นต้น

กรณีผู้ป่วยติดเตียง ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดแผลกดทับคือความอับชื้นจากการใส่ผ้าอ้อม และการใช้ผ้ายางกันปัสสาวะ ความร้อน ความอับชื้น และการถูกกดทับโดยการนอนหรือนั่งท่าเดิมเป็นเวลานาน สิ่งเหล่านี้ร่วมที่ก่อให้เกิดแผลกดทับทั้งสิ้น

 

ลักษณะแผลกดทับ 

แผลกดทับสามารถระบุระยะที่เป็นได้จากระดับของเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย แผลมีทั้งหมด 4 ระดับ โดยระดับพบในผู้ป่วยติดเตียงที่พักอาศัยที่บ้านจะอยู่ในระดับที่ 1-2

 ระยะที่ 1  ผิวหนังมีรอยแดง ๆ ใช้มือกดแล้วรอยแดงไม่จางหายไป ผิวไม่ฉีกขาด


 ระยะที่ 2  ผิวหนังเสียหายบางส่วน แผลตื้น ไม่พอง ไม่เป็นตุ่มน้ำใส


 ระยะที่ 3  แผลลึกถึงชั้นถึงไขมัน สูญเสียผิวหนังทั้งหมด

 

 ระยะที่ 4  แผลลึกมองเห็นถึงกระดูก เอ็น กล้ามเนื้อ สูญเสียผิวหนังทั้งหมด

 

วิธีการรักษาแผลกดทับ
หัวใจสำคัญในการรักษาแผลกดทับ คือ การลดภาวะเสี่ยงจากการกดทับ ช่วยให้ผู้ป่วยเกิดแรงกดทับที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งน้อยลง ร่วมกับการดูแลแผล บรรเทาอาการเจ็บแผล ป้องกันการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งการรักษาแบบองค์รวมจะช่วยให้สามารถดูแลได้ครบทุกด้าน วิธีการรักษาแผลกดทับ ได้แก่

  • ลดแรงกดทับ โดยจัดท่านอนผู้ป่วยให้พลิกตัวทุก 2 ชั่วโมง หากนอนตะแคงควรนอนที่ 30 – 45 องศา นอนหนุนศีรษะไม่สูงเกิน 30 องศา ไม่นั่งกดทับแผล
  • ดูแลแผล การดูแลแผลของผู้ป่วยติดเตียงที่พักที่บ้าน ควรได้รับคำแนะนำโดยตรงจากแพทย์ การทำแผลแพทย์จะพิจารณาพื้นแผล เนื้อตาย ขอบแผล ประเมินภาวะติดเชื้อ โดยจะเลือกวัสดุปิดแผลที่เหมาะกับประเภทของแผลเป็นสำคัญ เพื่อให้แผลหายเร็วขึ้นและลดการเสียดสีที่ผิวหนัง
  • การตัดเนื้อตาย แพทย์จะทำการตัดเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายออกไป เพราะแผลกดทับจะหายได้ต้องไม่มีการติดเชื้อหรือเนื้อเยื่อตาย

 

การดูแลรักษาแผลกดทับเป็นเรื่องสำคัญ เพราะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโดยตรง ดังนั้นการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางที่พร้อมด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีในการรักษา ย่อมช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ ลดความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น ทำให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจอีกครั้ง

 

Care of Sweden
จึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่สำคัญของการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดแผลกดทับ และช่วยรักษาแผลกดทับที่เกิดขึ้นแล้วระดับ 1-2 ให้แผลดีขึ้นได้ (มีผลการวิจัยรองรับ)

ข้อมูลโดย: นพ. อรรถ นิติพน (Pediatric Surgery, Trauma Surgery) 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้